กระดานแสดงความคิดเห็น
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-15 (กระดานแสดงความคิดเห็น)
ในการประชุมปฏิบัติการเพื่อพัฒนาหารูปแบบระบบการบริหาร การจัดการ การเชื่อมโยงการให้บริการ และวางระบบการประเมินผลการจัดการศึกษารูปแบบ ตามกรอบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ณ สถาบันการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ ที่กำกับการประชุมโดย อ.สุวัฒน์ ธรรมสุนทร ในช่วงหนึ่งของการประชุมได้มีโอกาสฟังบรรยายเรื่องอีเทรนนิ่ง (e-Training) โดย อ.ศรีเชาวน์ วิหคโต จากสถาบัน กศน.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้นำเสนอความสำเร็จของการอบรมครูอาสา หรือครูศรช.หลายพันคนในภาคของท่าน เมื่อครูมีความเข้าใจในระบบและกลไกการเรียนรู้ผ่านอีเทนนิ่งที่เน้นไปที่การพัฒนาครู ก็จะนำสู่ก้าวต่อไปคือสอนนักเรียน กศน. ผ่านระบบอีเลินนิ่ง (e-Learning) ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาการศึกษาในชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างเป็นรูปธรรม
ตัวแทนครูคอมพิวเตอร์จากโรงเรียนระดับจังหวัดลำปางหลายท่าน ได้ให้ข้อแลกเปลี่ยนเป็นไปในทางเดียวกันว่า การสอนด้วยอีเลินนิ่งมีปัญหาที่ครู นักเรียน และผู้บริหาร ถ้าครูยังไม่เข้าใจการใช้ประโยชน์จากอีเลินนิ่ง ผู้บริหารไม่สนับสนุนอย่างจริงจัง แล้วหวังจะให้ครูเหล่านั้นใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนก็คงเป็นได้เพียงความฝัน เหมือนมอบหมายให้แม่ปูไปสอนลูกปูให้เดินตรงตรง การนำเสนอด้วย best practice ของสถาบัน กศน.ระดับภาค เพื่อชวนแลกเปลี่ยน และคาดหวังการนำไปสู่การติดตั้งโปรแกรม Learnsquare รุ่น 3 ในระดับจังหวัดและอำเภอต่อไป ย่อมมีความเป็นไปได้ของความสำเร็จที่สูงในเมื่อมีความสำเร็จที่เกิดขึ้นในระดับภาคเป็นที่ประจักษ์เช่นนี้
ประเด็นที่นำไปสู่ความสำเร็จของจำนวนครูที่เข้าเรียนในหลักสูตรอีเทรนนิ่งน่าจะมาจากเงื่อนไขการเป็นครู ว่าครูที่มีคุณภาพต้องเข้าหลักสูตรอีเทรนนิ่งอย่างน้อยปีละ 1 วิชา ถ้าเงื่อนไขนี้สามารถทำให้เกิดการพัฒนาครู และส่งผลถึงการพัฒนาการศึกษาของประเทศในระดับชุมชน ก็น่าจะประยุกต์ใช้กับการศึกษาในระดับอื่นได้ถ้าทำให้สิ่งนี้เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต่ออาชีพครู ผลที่ได้ต่อครูคือการได้เรียนรู้ในเนื้อหาวิชา และความชำนาญในการใช้งานระบบ ผลที่มีต่อนักเรียนคือครูที่ผ่านหลักสูตรจะนำประสบการณ์ที่ได้ไปพัฒนาวิชาออนไลน์ให้นักเรียนได้เข้าไปเรียนรู้ผ่านระบบอีเลินนิ่งที่ครูเหล่านั้นเป็นผู้สร้างขึ้นมา การศึกษาของไทยก็พัฒนาก้าวลึกเข้าไปในชุมชนเข้าไปพร้อมการพัฒนาโครงข่ายพื้นฐานด้านการสื่อสารของประเทศ
จากคุณ :
บุรินทร์
.
08:01am (22/06/09)
บ
ทความเกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน (Information Technology in Life) ถูกเขียนลงในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เริ่มเขียนปลายปีพ.ศ. 2549 จนถึงมิถุนายน พ.ศ.2560 รวมได้ 611 บทความมีโฮมเพจอยู่ที่ http://www.thaiall.com/itinlife และ http://www.thaiall.com/opinion เพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันเรื่องราวที่ได้พบ ได้อ่าน ได้ปฏิบัติ แล้วนำมาเรียบเรียงแบ่งปันแก่เพื่อนชาวไทย และส่งให้กองบรรณาธิการนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง
O
pinion
แปลว่า ความคิดเห็น วาทะ ความเชื่อ ที่สามารถสะท้อนออกมาให้อยู่ในรูปของวรรณกรรม หรืองานเขียน ที่เรื่องราวจะถูกร้อยเรียงเป็นตัวอักษร ไล่เรียงตามลำดับให้ได้รู้และเข้าใจความคิดความเห็น ที่ไม่เลือนหายไปตามเวลาเหมือนความทรงจำ
version 1.3 (15 ตุลาคม 2566)
Thaiall.com
Truehits.net
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ: 153 มิลลิวินาที สูง: 902 จุด กว้าง: 1264 จุด
"ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่ง" โดย โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ
หน้าหลัก
Lampang.net
Thaiabc.com
Thainame.net
เปิดรับผู้สนับสนุนเพิ่ม
OS
MIS
SWOT
LINUX
Teach Pro.
SPSS
Business
Research
Online Quiz
Data Structure
จรรยาบรรณ
อันดับสถาบัน
ปฏิทินวันหยุด
วิทยาการคำนวณ
การจัดการความรู้
เกี่ยวกับเรา
สนับสนุนเรา
Products
FB : @Thaiall
Blog : เทคโนโลยี
Thaiall.com
Truehits.net